ตราโรงเรียน

ปรัชญาโรงเรียน

ปัญญฺาว ธเนน เสยฺโย : ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์

คำขวัญ

" รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาสิ่งแวดล้อม "

สีประจำโรงเรียน

สีม่วง

หมายถึง ความสามัคคี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม อันเป็นแนวทางสร้างสรรค์สังคม

สีขาว

หมายถึง ความสามัคคี มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม อันเป็นแนวทางสร้างสรรค์สังคม

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

" ต้นนนทรี (อะลาง) "

เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณโรงเรียน ที่ทางโรงเรียนได้อนุรักษ์เอาไว้ จะออกดอกสวยงามในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนเพ็ญพิทยาคม​

              ปี พ.ศ. 2509 ระหว่างปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ได้เกิดอุทกภัยร้ายแรงเป็นเหตุให้พื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ก็ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ด้วยประชาชนทั่วประเทศต่างมีจิตเมตตาบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคมาช่วยเป็นอันมาก

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระราชชนนีทรงมีความห่วงใยในราษฎรที่ประสบอุทกภัย การเสด็จครั้งแรกมีนายสุวรรณ รื่นยศ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ได้มารอรับเสด็จที่อำเภอเพ็ญ ว่า“เพื่อเป็นการปลอมขวัญประชาชนนายอำเภอเห็นควรทำอย่างไร” นายอำเภอเพ็ญได้เรียนว่า “ใคร่จะได้โรงเรียนสัก 1 หลัง ฝากเป็นอนุสรณ์แก่พี่น้องชาวอำเภอเพ็ญ” 

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2509 ได้จัดสรรเงินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับบริจาคช่วยเหลือน้ำท่วม มาให้สร้างโรงเรียนดังกล่าวในวงเงิน  50,000  บาทอำเภอจึงได้ดำเนินการสร้างโรงเรียน  1  หลัง แบบ 104  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวมี 7  ห้องเรียน  สร้างในที่ดินราชพัสดุ  หลังที่ว่าการอำเภอเพ็ญ  เยื้องด้านทิศตะวันตกในที่ดิน  15  ไร่เศษ พร้อมด้วยบ้านพักครู  1  หลัง  ห้องน้ำห้องส้วม 1 หลัง  4 ที่สร้างเสร็จส่งมอบอำเภอเพ็ญวันที่ 11  ตุลาคม  2511  และได้ตั้งชื่อตามกรมที่จัดสรรเงินว่า “โรงเรียนประชาสงเคราะห์  7 ” 

อนึ่ง อำเภอได้พิจารณาว่า อำเภอนี้ยังไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาเลย แม้กระทั่งโรงเรียนราษฎร์ อำเภอเพ็ญจึงขอให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา รับนักเรียนตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และเปิดป้ายโรงเรียนตั้งแต่วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2511 มีนายองอาจ วุฒิเสน เป็นผู้บริหารคนแรกต่อมาโรงเรียนเห็นว่าที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ซึ่งมีจำนวน 15 ไร่เศษนั้นจะน้อยเกินไปสำหรับการขยายตัวของนักเรียนซึ่งมีอัตราเพิ่มอย่างรวดเร็ว จึงได้ดำเนินการติดต่อขอที่ดินเอกชนและได้รั[ความช่วยเหลือร่วมมือบริจาคที่ดินจำนวน 6 ราย คือ

           1. นายสุรพล  ผาจวง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านสังซา
           2.นายสวัสดิ์ งามจิตร อาจารย์ช่วราชการแผนกศึกษาธิการอำเภอเพ็ญ
           3. นายผัน   รอดชมภู  ราษฎรบ้านเหล่าสูง
           4. นายบุญมี  รดแดงนอก  ราษฎรบ้านเหล่าสูง
           5. นายเฮือง   จันทบุตร     ราษฎรบ้านเหล่าสูง
           6. นายจูม     รอดชมภู     ราษฎรบ้านเหล่าสูง
 
            โรงเรียนได้รับมอบที่ดินดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ที่  13 บ้านวังบัวเหลือง ตำบลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวนรวมกันได้ 66 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา เมื่อ พ.ศ. 2515  
            ปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่ที่ดินแห่งใหม่และกระทรวงศึกษาธิการประกาศเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาสงเคราะห์  7 เป็น“โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม”
            ปี พ.ศ. 2552  โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม   ได้รับมอบที่ดินจากธนาคารไทยพาณิชย์  จำนวน  22  ไร่  21  ตารางวา  และได้จัดสร้างเป็นศูนย์การเรียนวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  ประจำอำเภอเพ็ญ เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน  ครู  และประชาชนชาวอำเภอเพ็ญ  ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านสังซา ต. บ้านธาตุ  อ.เพ็ญ  จ.อุดรธานี
             ปี  พ.ศ.2557  โรงเรียนรางวัลชมเชย จากการประเมินโรงเรียนพระราชทาน
             ปี  พ.ศ.2561  โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนธุรกิจน้อยมีคุณธรรม และโรงเรียนมาตรฐาน ( World-class standard school. WCSS )
             ปี  พ.ศ.2563 เข้าร่วมการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
             ปี  พ.ศ.2563  โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว
             ปี  พ.ศ.2565  โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับเงิน
             ปี  พ.ศ.2566  โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับทอง